
ในเดือนมิถุนายนของทุกปี รู้จักกันอย่างดีในชื่อ Pride Month เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT คุณรู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันมีประเทศและดินแดนปกครองตนเองอะไรบ้างที่ทางรัฐบาลอนุญาตให้คนรักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมาย
– ประเทศที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานได้ตามกฎหมาย
ในปัจจุบันมีการจดทะเบียนสมรสคู่รักเพศเดียวกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีมากถึง 30 ประเทศทั่วโลก โดยกลุ่ม LGBT ในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รับโอกาสนี้เป็นแห่งแรก โดยเริ่มบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 2001 ทำให้หลายประเทศเริ่มมีการเคลื่อนไหวและประกาศบังคับใช้กฎหมายในรูปแบบเดียวกันเพิ่มมากขึ้นในเวลาต่อมา แต่กว่าจะเริ่มต้นและทำจนสำเร็จได้ในตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปีที่ผ่านมา
ทำให้มีประเทศที่มีกฎหมายจดทะเบียนสมรสคู่รักเพศเดียวกันต่อจากประเทศเนธอร์แลนด์ ได้แก่ ประเทศสวีเดน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เยอรมณี เบลเยียม โปรตุเกส อุรุกวัย กรีนแลนด์ ออสเตรเลีย สเปน ไอซ์แลน์ นิวซีแลนด์ โคลัมเบีย เมอร์บิวดา แคนาดา อาร์เจนตินา สหราชอนาจักร ฟินแลนด์ แอฟริกาใต้ เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ก หมู่เกาะแฟไร นอร์เวย์ บราซิล สหรัฐอเมริกา มอลตา ออสเตรีย ส่วนในเอเชียมีประเทศไต้หวัน และคอสตาริกาเป็นประเทศล่าสุดที่ออกกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
ในส่วนของประเทศไทยอนุญาตให้ จดทะเบียนคู่ชีวิต ได้และมีสิทธิทางกฎหมายหลายอย่างแต่ก็ยังไม่เทียบเท่ากับทะเบียนสมรส แต่ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของคู่รักเพศเดียวกันในบ้านเรา

– สิทธิคู่รักเพศเดียวกันในประเทศไทย
กลุ่ม LGBT ในบ้านเราได้มีการเรียกร้องให้มีการจดทะเบียนสมรสสำหรับคู่รักเพศเดียวกันมาอย่างยาวนานหลายปี จนในปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ร่างกฎหมายนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกแต่ได้รับเสียงคัดค้านจากประชาชนทั่วไปและกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่าสิทธิที่ได้รับมีจำนวนน้อยเกินไป เช่น ไม่สามารถรับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยงได้ ไม่สามารถใช้ชื่อสกุลเดียวกันได้ ไม่มีสิทธิในการเรื่องการรักษาพยาบาลของคู่รักได้ และไม่สามารถรับสวัสดิการจากรัฐของคู่รักได้ เป็นต้น
ทำให้มีการแก้กฎหมายอยู่บ่อยครั้งซึ่งใช้เวลายาวนานกว่า 7 ปี จนกระทั้งร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. 2563 (ร่างที่ 6) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคม ซึ่งได้กำหนดให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันมีสิทธิต่าง ๆ เช่น กำหนดให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจตาม พ.ร.บ.นี้ กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตต้องรับการยินยอมทั้งสองฝ่าย และต้องมีอายุตั้งแต่ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถือสัญชาติไทยหรือคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย ในส่วนกรณีที่เป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ดูแลก่อน หรือสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น
นอกจากนี้ยังกำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทน ทั้งในเรื่องของการดำเนินคดี เช่นเดียวกับการจดทะเบียนสมรส ตามประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา รวมไปถึงการกำหนดเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต และการรับเลี้ยงบุญบุญธรรมได้ อีกทั้งกำหนดให้กรณีที่คู่ชีวิตเสียชีวิตอีกฝ่ายมีสิทธิแบบเดียวกับคู่สมรส ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก และได้กำหนดสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัวและบุตรบุญธรรมมาบังคับใช้โดยอนุโลมอีกด้วย
ในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา นับว่าการเรียกร้องของกลุ่ม LGBT ที่พยายามพลักดันให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ผู้คนในบางประเทศเริ่มเปิดใจและมีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งในอนาคตคงมีอีกลาย ๆ ประเทศจะมีกฎหมายเหล่านี้เกิดขึ้นมารองรับกลุ่มคนรักเพศเดียวกันอย่างแน่นอน
เครดิตภาพ : ellethailand.com / springnews.co.th / praewwedding.com
YouTube : https://www.youtube.com/watch?v=3m5hRAFHgNo อนุมัติร่างกฎหมาย “เพศเดียวกัน” จดทะเบียนคู่ชีวิตได้
https://www.youtube.com/watch?v=sCK0nX98Fp4 28ประเทศที่กฎหมายอนุญาตแต่งงานเพศเดียวกัน
#เที่ยวญี่ปุ่น #ท่องเที่ยวต่างประเทศ #ทริคการเดินทาง #เที่ยวไต้หวัน #ที่เที่ยวเกาหลี #ประเทศที่LGBTแต่งงานถูกกฎหมาย